Sunday, December 27, 2009

ภาพบรรยากาศ คอนเสิร์ตการกุศล ความเรียบง่ายนั้นงดงาม

ที่บ้านคุณสมลักษณ์ ปันติบุญ 17 ธันวาคม 2552 (ภาพโดยคุณปอ) http://tinyurl.com/y9qnwey

Wednesday, December 16, 2009

งานคอนเสิร์ต "ความเรียบง่ายนั้นงดงาม"

งานคอนเสิร์ต "ความเรียบง่ายนั้นงดงาม"
เพื่อเจดีย์ไม้ไผ่ที่วัดป่าอ้อร่มเย็น นางแล เชียงราย

บ้านป่าอ้อ ตำบลนางแล เป็นเพียงหมู่บ้านเล็กๆแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงราย ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เมื่อก่อนหมู่บ้านป่าอ้อไม่มีวัด เวลาที่ต้องประกอบพิธีทางศาสนาตามประเพณี ชาวบ้านต้องข้ามถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ไปยังวัดนางแล ซึ่งอยู่ห่างออกไป 

เมื่อประมาณ 2 ปีที่ผ่านมา ชาวบ้านได้รวมตัวกันบริจาคเงินซื้อที่ดินในหมู่บ้านเพื่อสร้างวัด ไว้เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในหมู่บ้าน โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างวัดขนาดเล็กที่เหมาะสมกับการใช้สอย เรียบง่าย และสงบร่มเย็น จึงตั้งชื่อวัดอย่างง่ายๆตามชื่อหมู่บ้านว่่า "วัดป่าอ้อร่มเย็น"

จากความสามัคคีของชาวบ้าน ผ่านมา 2 ปี ที่วัดป่าอ้อร่มเย็น มีพระมหามงคล เป็นเจ้าอาวาส เรามีอุโบสถขนาดเล็กที่สวยงาม และได้ริเริ่มการสร้างเจดีย์ด้วยไม้ไผ่(นับเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่สร้างเจดีย์ด้วยไม้ไผ่) เพื่อเป็นการรื้อฟื้นการใช้สอยวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่น ซึ่งหาได้ง่าย ประหยัด และงดงาม ทั้งนี้ ได้นิมนต์พระสงฆ์จากพม่า มาสาธิตเทคนิคการเคลือบไม้ไผ่ด้วยน้ำยางรัก ซึ่งจะรักษาเนื้อไม้ไผ่ได้ยาวนาน

กิจกรรมการสานเจดีย์ไม้ไผ่ ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากสาธารณชนทุกหมู่เหล่า เราเริ่มกิจกรรมนี้ตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคมที่ผ่านมา โดยในวันที่ 17 ธันวาคมนี้ นักดนตรีและศิลปินที่ได้ร่วมทำบุญด้วยเสียงเพลงโดยการจัดคอนเสิร์ตการกุศลที่มีชื่อว่า คอนเสิร์ต "ความเรียบง่ายนั้นงดงาม" เพื่อสะท้อนวิถีชีวิตชาวบ้าน และแนวคิดของการสร้างวัดที่เรียบง่ายทว่างดงาม

คณะศรัทธาวัดป่าอ้อร่มเย็น ขอเชิญชวนท่าน มาร่วมงานคอนเสิร์ตการกุศล ร่วมสมทบทุนตามแต่จิตศรัทธาได้ที่บริเวณหน้างาน


งานคอนเสิร์ตจะจัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคมศกนี้ ที่บริเวณลานบ้านของคุณสมลักษณ์​ ปันติบุญ

งานคอนเสิร์ต
"ความเรียบง่ายนั้นงดงาม"
วันที่ 17 ธันวาคม 2552 เริ่มพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเวลา 18:00 น.
ณ บ้านคุณสมลักษณ์​ ปันติบุญ  เลขที่ 222 บ้านป่าอ้อ ตำบลนางแล อำเภอเมือง เชียงราย

กำหนดการ

17:00 การแสดงขับซอโดย คณะแม่ทองสร้อย
17:45 การแสดงเดี่ยวซึงเพลงสายน้ำของไหล โดยคุณสยาม พึ่งอุดม (15 นาที)
18:00 พิธีเปิด โดยคณะสงฆ์จากวัดป่าอ้อร่มเย็น และคุณสมลักษณ์ ปันติบุญ
18:30 พักรับประทานอาหารและชมงานนิทรรศการศิลปะ 
19:00 การแสดงพิณเปี๊ยะ โดยคุณเสรี ไชยยา
19:15 การแสดงเดี่ยวกีร์ต้าคลาสสิค โดยคุณองอาจ อินทนิเวศ
           เพลงพระราชนิพนธ์ สายฝน 3.30 นาที
           เพลงลาวดวงเดือน 6.20 นาที  
19:30 การแสดงโมเดิร์นแดนซ์ โดยคุณแววดาว ศิริสุข
19:45 วงดนตรีเครื่องสาย คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เดี่ยวฟลุ๊ตโดย วรพล กาญจน์วีระโยธิน ควบคุมวงโดย ทัศนา นาควัชระ

          Silpakorn University Strings Orchestra Soloist : Worapon Kanweerayothin Directed by Tasana Nagavajara

รายชื่อนักดนตรี

Violin 1

Tasana Nagavajara ทัศนา นาควัชระ Anawin Sawattabovorn อนาวิน เศวตบวร Siritan Thipnoppakun สิริธันว์ ทิพย์นพคุณ Athiya Voravijitrapun อธิยา วรวิจิตราพันธ์ Sompob Homsoi สมภพ หอมสร้อย

Violin 2

Kamolporn Byagghateja กมลพร พยัคฆเดช Karn Watcharaprapapong กานต์ วัชระประภาพงศ์ Piyaorn Kanjadilok ปิยอร กัญจน์ดิลก Pichaporn Sukhontapan พิชาภรณ์ สุคนธพันธุ์ Warunya Sri-iamkun วรัญญา ศรีเอี่ยมกูล Yu Maruta ยู มารูตะ Khanaphon Seedonrahmee คณพล สีดลรัศมี

Viola

Leo Phillips ลีโอ ฟิลลิปส์ Paradee Treeratt ภารดี ตรีรัตน์

Cello

Kittikhun Sodprasert กิตติคุณ สดประเสริฐ Thossaporn Pothong ทศพร โพธิ์ทอง

Double Bass

Khunakorn Sawat-Chuto คุณากร สวัสดิ์-ชูโต Suthichai Thamtikanon สุธิชัย ธรรมติกานนท์ Sudarat Taengtang สุดารัตน์ แต่งตั้ง

รายการแสดง

J.S. Bach
- Concerto for Two Violins in D minor, BWV1043

Pachelbel
- Canon

W.A. Mozart
- Andante in C major

K315 Leroy Anderson
- The Typewriter
- The Syncopated Clock
- Plink, Plank, Plunk

 


ทัศนา นาควัชระ (ไวโอลิน)

ทัศนา นาควัชระ เป็นที่รู้จักดีในวงการดนตรีคลาสสิกของไทยในฐานะนักดนตรีที่มีความสามารถในการแสดงดนตรีอันหลากหลาย เขาได้แสดงเดี่ยวกับวงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพ วงดุริยางค์ราชนาวี          วงซิมโฟนีแห่งชาติของกรมศิลปากร และวงเครื่องสายบี.เอส.โอ   นอกจากนั้นก็ได้ออกแสดงดนตรีประเภทเชมเบอร์อยู่เป็นประจำ รวมทั้งทำหน้าที่เป็นหัวหน้าวงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพ ทัศนาเล่นดนตรีทุกรูปแบบนับตั้งแต่ดนตรีตะวันตกยุคโบราณมาจนถึงเพลงประกอบภาพยนตร์  ดุริยกวีร่วมสมัยหลายท่านได้สร้างงานขึ้นใหม่เป็นการเฉพาะให้ทัศนานำออกแสดงเป็นครั้งแรก

เขาเรียนไวโอลินกับอาจารย์สุพจน์ ชมบุญ   อาจารย์สุทิน ศรีณรงค์   และอาจารย์ พ..ชูชาติ      พิทักษากร    ในขณะที่ยังศึกษาอยู่ในประเทศไทย เขาได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้าวงเยาวชนแห่งชาติ และได้รับเลือกเป็นหัวหน้าวงเยาวชนอาเซียนที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ด้วย

ทัศนาได้ไปศึกษาในยุโรปจนจบการศึกษาจาก International Menuhin Music Academy (IMMA) ในสวิตเซอร์แลนด์ และ Vorarlberg Conservatory ในออสเตรีย โดยได้ศึกษากับศาสตราจารย์ผู้มีชื่อเสียง อันได้แก่ Alberto Lysy, Gratchia Arutunjan, Johannes Eskar และ Roland Baldini     ที่สถาบัน IMMA เขาได้รับการฝึกฝนอย่างเข้มข้นในดนตรีประเภทเชมเบอร์ และได้เดินทางไปแสดงในเมืองสำคัญๆ ในยุโรป สหรัฐอเมริกา แคนาดา และอเมริกาใต้ ในฐานะสมาชิกของวง Camerata Lysy Gstaad ซึ่งมีนักไวโอลินเอกของโลก Lord Yehudi Menuhin เป็นผู้ควบคุมวง

จากนั้น ทัศนาได้ไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัย Oregon เมือง Eugene สหรัฐอเมริกา กับศาสตราจารย์ Kathryn Lucktenberg โดยได้รับทุนผู้ช่วยสอน   นอกจากนั้นยังได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้าวงซิมโฟนีของมหาวิทยาลัย และได้เป็นสมาชิกของวงดนตรีอาชีพคือ Eugene Symphony Orchestra, Oregon Mozart Players และ  Collegium Musicum Ensemble (ซึ่งเชี่ยวชาญการแสดงดนตรีโบราณด้วยเครื่องดนตรีต้นแบบ) ในฐานะหัวหน้าวง Polaris String Quartet เขากับผู้ร่วมวงได้เข้ารอบรองชนะเลิศในการประกวดควอเตทระดับชาติของสหรัฐอเมริกา ที่รู้จักกันในนามของ Fischoff National Chamber Music Competition  ทัศนาได้รับปริญญาโททางการแสดงดนตรี พร้อมกับรางวัลนักดนตรีดีเด่นระดับบัณฑิตศึกษา

นอกจากเล่นดนตรีอย่างสม่ำเสมอแล้ว ทัศนายังอุทิศเวลาให้กับการสอนและกิจการด้านดนตรีศึกษา และดำรงตำแหน่งรองคณบดี คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เขาเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ก่อตั้ง มหกรรมดนตรีล้านนา และเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนดนตรีภาคฤดูร้อน "เรียนดนตรีวิธีศิลปากร" อันเป็นที่ฝึกนักดนตรีรุ่นเยาว์ผู้มีพรสวรรค์ นอกจากนี้ทัศนายังเป็นที่รู้จักในฐานะผู้เขียนคอลัมน์ด้านดนตรีและสังคม/การเมืองให้แก่นิตยสาร OPEN

ทัศนา ได้รับทุนจากกองทุนสนับสนุนการศึกษาดนตรีคลาสสิกในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เพื่อไปฝึกอบรมขั้นสูงที่ Crescendo Violin School ณ เมือง Neustadt / Weinstrasse สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน

 

Tasana Nagavajara (Violin)

No stranger to Thailand's classical music enthusiasts, Tasana Nagavajara has established an outstanding reputation on a varied range of performing activities. He has appeared as soloist with the Bangkok Symphony Orchestra, the Royal Thai Navy Orchestra, the National Symphony Orchestra and the Bangkok String Orchestra among others. He has also given numerous recitals, regularly performs chamber music and is presently concertmaster of the Bangkok Symphony Orchestra. Tasana's repertoire ranges from ancient music to contemporary motion picture soundtrack, and he has inspired a number of modern composers to create new works especially for him.

     Tasana took violin lessons with Supot Chomboon, Sutin Srinarong and later with Col. Choochart Pitaksakorn. Still in his teens, he was appointed concertmaster of the Thai National Youth Orchestra and the ASEAN Youth Orchestra in Kuala Lumpur, Malaysia.

     He continued his music studies at the International Menuhin Music Academy (IMMA) in Switzerland and the Vorarlberg Conservatory in Austria. His teachers were Alberto Lysy, Gratchia Arutunjan, Johannes Eskar and Roland Baldini. At IMMA he received a rigorous training in chamber music, while touring with the Camerata Lysy Gstaad under the direction of Lord Yehudi Menuhin in most major European cities, the U.S., Canada and South America.

     Moving from Europe to the U.S., he studied the violin with Kathryn Lucktenberg at the University of Oregon, Eugene, where he was a Graduate Teaching Fellow. Tasana was an assistant violin instructor, concertmaster of the University Symphony as well as 1st violin with the Eugene Symphony Orchestra, the Oregon Mozart Players and the Collegium Musicum Ensemble (specializing in period instruments). He led the Polaris String Quartet to the semi-final of the renowned Fischoff National Chamber Music Competition in Indiana. He graduated with a Master of Music degree and received the Outstanding Graduate Performer Award.

     In addition to his extensive performance schedule, Tasana is seriously committed to teaching and music education. He is currently Deputy Dean of the Faculty of Music, Silpakorn University. He was a founding member of the Lanna Music Festival and has directed the Silpakorn Summer Music School, where young musical talents are trained to attain artistic excellence. He also writes articles on music and socio-political criticism for the OPEN Magazine.

     Tasana received a scholarship from the Classical Music Education Supporting Fund under the patronage of HRH Princess Galayanivadhana to attend a masterclass at the Crescendo Violin School for professional musicians in Neustadt/Weinstrasse, Germany. 

    

 

 

 

 

 

 

 

Wednesday, December 2, 2009

งานโครงสร้างเจดีย์ไม้ไผ่ที่วัดป่าอ้อร่มเย็น

งานโครงสร้างเจดีย์ไม้ไผ่ที่วัดป่าอ้อร่มเย็น
ถ่ายเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2552